The Innovation Catalyst Series EP 1:
องค์กรของเรามี ‘นวัตกร’ หรือ ‘คนสร้างสิ่งใหม่ๆ’ เพียงพอแล้วหรือยัง? แล้วต้องมีเท่าไหร่ถึงจะเพียงพอในการขับเคลื่อนการเติบโต?
เขียนโดย
รฐิยา อิสระชัยกุล
Chief Commercial Officer,
RISE
10 กรกฎาคม 2567
เคยสงสัยไหมว่า ในองค์กรหนึ่งๆ ควรมีพนักงานที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน innovation กี่เปอร์เซ็นต์ ถึงจะพอต่อการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง และขับเคลื่อนให้เกิด innovation culture ในองค์กรได้ และอะไรเป็นจุดบ่งชี้ว่า innovation culture ของเราเริ่มจะจุดติดแล้ว มาไขคำตอบกัน
Innovation Critical Mass: พลังขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางนวัตกรรม
ถ้าถามว่าในองค์กรหนึ่งๆ ควรมีพนักงานที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน innovation กี่เปอร์เซ็นต์ ถึงจะเพียงพอที่จะผลักดันให้องค์กรมี culture และมีบรรยากาศของการทำงานด้วยแนวคิดนวัตกรรมจริงๆ
จากงานวิจัยของ Professor Clayton Christensen ศาสตราจารย์ด้านนวัตกรรมจาก Harvard Business School พบว่า เมื่อมีคนในองค์กรประมาณ 15% ของพนักงานทั้งหมด ไม่ว่าจะจากบทบาทหรือส่วนงานใด เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนโครงการสร้างนวัตกรรมอยู่อย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นโครงการด้านการพัฒนากระบวนการ (process improvement) หรือ การสร้างสินค้าหรือบริการใหม่ๆ ด้วยแนวคิดทางด้านนวัตกรรม องค์กรจะเกิด "Innovation Critical Mass" ที่ทำให้ Innovation culture ถูกสอดแทรกและกระจายไปทั่วทั้งองค์กรได้ เพราะมันเป็นจุดที่สร้างแรงกระเพื่อมได้มากพอที่จะเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรได้ทั้งระบบ
แล้วเราจะสร้าง Innovation Critical Mass ให้เกิดขึ้นในองค์กรได้อย่างไร?
การสร้างพื้นที่ โครงการ หรือ กระบวนการในองค์กร ให้คนในแผนกต่างๆสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์นวัตกรรมได้ เพื่อให้พนักงานมีส่วนร่วมในโครงการนวัตกรรมอยู่เสมอ เช่น
-
สร้างพื้นที่และเวทีให้พนักงานได้แบ่งปันไอเดียและผลงานนวัตกรรม เช่น การจัด hackathon, innovation program และ process improvement ต่างๆ
-
มีช่องทางให้พนักงานสามารถส่งไอเดียให้ผู้บริหารได้พิจารณา สนับสนุนให้ทำเป็น project เสริมได้
-
การจัดให้มี community ของกลุ่มคนที่ทำ project นวัตกรรมได้แลกเปลี่ยน
-
การจัดให้มี innovation mentor ให้คำปรึกษาซึ่งกันและกัน
-
มีการจัดอบรมและ workshop ด้านนวัตกรรมให้เป็นความรู้พื้นฐาน
-
และที่สำคัญ อย่าลืม สร้างระบบรางวัลและการยกย่องสำหรับผู้สร้างนวัตกรรม
Key สำคัญคือ การทำอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ไม่ใช่เพียงแค่ไฟไหม้ฟาง นานทีปีหน จึงจะเป็นจุดเริ่มต้นให้เกิด Innovation Critical Mass ได้
ตัวอย่างที่น่าสนใจคือ บริษัท 3M ที่มีนโยบาย "15% Culture" ให้พนักงานใช้เวลา 15% ของเวลาทำงานไปกับโครงการที่พวกเขาสนใจ ผลลัพธ์ที่ได้คือ นวัตกรรมมากมายเกิดขึ้น รวมถึงบริษัท Post-it Notes ที่เราคุ้นเคยกันดี ในประเทศไทย ก็ใช้นโยบายนี้เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCG ก็มีนโยบายคล้ายกัน โดยส่งเสริมให้พนักงานใช้เวลาส่วนหนึ่งในการคิดค้นนวัตกรรม ผ่านโครงการ "Zero to One" ซึ่งส่งผลให้เกิดผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ มากมาย
เมื่อมี Innovation Critical Mass มากเพียงพอ คุณจะเริ่มสังเกตได้ว่าผู้คนเริ่มมี “Common Language: ภาษาร่วมแห่งนวัตกรรม” นึกภาพว่าคุณทำงานในทีมที่สมาชิกต่างก็พูดคนละภาษา อาจจะฟังดูยาก แต่การสร้างนวัตกรรม เราต้องมี "ภาษาร่วม" ที่ทุกคนเข้าใจตรงกัน
เมื่อคนในทั่วทั้งองค์กร ไม่ว่าจะเป็นหน้าบ้าน หรือหลังบ้าน ได้มีความรู้ ความเข้าใจแนวคิด และ กระบวนการพื้นฐานด้านนวัตกรรม การคิด เสนอ ทดลองทำสิ่งใหม่ๆ ของพวกเขาก็จะลื่นไหลมากขึ้น ไม่จำกัดเฉพาะแค่โครงการนวัตกรรมเท่านั้น แต่รวมไปถึงการทำงานเดิมหรือ business as usual ของเขาก็สามารถทำให้ดีขึ้นได้ด้วย
ลองนึกภาพว่า ทีม Product ขอให้ทีม sales ช่วย empathize (การเอาใจเค้ามาใส่ใจเรา) ลูกค้าเพิ่มเติมให้หน่อย เพื่อหา insights หา pain points ของลูกค้า เพื่อมาพัฒนาตัวสินค้าหรือบริการให้ดียิ่งขึ้นไป ถ้าบ้าน Sales ยังไม่เข้าใจขั้นตอนการ empathize ของ Design Thinking มาก่อนว่าคืออะไร กว่าจะขอความร่วมมือได้ ก็ต้องอธิบายกันยาว
หรือ การที่ ทีม Sales จะขอทดลอง Prototype บริการใหม่ให้กับลูกค้าบางกลุ่ม ด้วยการทำ website แบบง่ายๆ ออกแบบบริการรูปแบบง่ายๆขึ้นมาก่อน เพื่อทดสอบความต้องการของลูกค้า โดยแน่นอนว่ารูปแบบการสื่อสาร อาจจะยังไม่ดีร้อยเปอร์เซ็นต์ หากทีมสื่อสารองค์กรที่ดูแลเรื่อง Brand ไม่เข้าใจกระบวนการ Prototype ของในการสร้าง product ใหม่นี้ ก็ยากที่จะช่วยเหลือแนะนำหาช่องทางให้ทุกฝ่าย win-win ไปด้วยกันได้ สุดท้ายนวัตกรรมก็ไม่เกิด และยังไม่รวมองคาภยพต่างๆ ที่เป็น supporting function ที่สำคัญเช่น บ้านไอที บัญชี กฎหมาย และ ธรรมภิบาล (compliance) ใดๆ ที่หากไม่มีความเข้าใจกระบวนการ innovation พื้นฐานเหล่านี้ ก็จะเป็นการยากที่พวกเขาจะช่วยสนับสนุน ชี้แนะหาทางออกให้กับทีม innovation ได้
หลายองค์กรในประเทศไทย นอกจากจะจัดให้มีการอบรมด้าน innovation ให้กับทีมนวัตกร ที่รับผิดชอบการสร้างธุรกิจ หรือ สินค้าบริการใหม่ๆแล้ว ยังสนับสนุนให้หน่วยงาน supporting function ต่างๆมาเข้าร่วมอบรมด้วย ซึ่งได้ประโยชน์ทั้งในแง่ การนำ innovation mindset & skill set มาใช้ปรับปรุง process การทำงานหลังบ้านให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และตัวแทนทีมสนับสนุนต่างๆเหล่านั้นยังสามารถให้คำชี้แนะ ช่วยเหลือหน่วยงานด้าน innovation ให้หาทางลัดทางออกในการทำ process ต่างๆให้คล่องตัวมากยิ่งขึ้นด้วย
การสร้าง “Innovation Critical Mass” ให้มีจำนวนไม่น้อยกว่า 15% ของพนักงานทั้งหมด ช่วยสร้างพลังขับเคลื่อนที่แข็งแกร่งจนสามารถสร้าง ภาษาร่วมแห่งนวัตกรรมในองค์กร “Innovation Common Language” เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการสร้าง Culture of Innovation ให้องค์กรแห่งนวัตกรรม
—
เริ่มสร้าง Innovation Critical mass ในองค์กรตั้งแต่วันนี้
กับ Corporate Innovation Catalyst เวิร์คชอประยะสั้นด้านนวัตรกรรมจาก RISE ที่พร้อมช่วยคุณพัฒนาทักษะทางด้านนวัตกรรมให้กับพนักงานในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็น Hard Skill หรือ Soft Skills ผ่าน เวิร์คชอป ที่มีให้เลือกมากมายจาก จากหลักสูตร Innovation Catalyst ของเรา เรียนรู้เพิ่มเติมและเริ่มต้นการเดินทางสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรมได้ที่ https://catalyst.riseaccel.com/ หรือ ติดต่อ Learning Consultant จาก RISE ในการช่วยออกแบบการเรียนรู้ให้กับทีมงานของคุณ!
เคยสงสัยไหมว่า ในองค์กรหนึ่งๆ ควรมีพนักงานที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน innovation กี่เปอร์เซ็นต์ ถึงจะพอต่อการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง และอะไรเป็นจุดบ่งชี้ว่า innovation culture ของเราเริ่มจะจุดติดแล้ว มาไขคำตอบกัน
Innovation Critical Mass: พลังขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางนวัตกรรม
จากงานวิจัยของ Professor Clayton Christensen ศาสตราจารย์ด้านนวัตกรรมจาก Harvard Business School พบว่า ค้นพบว่าเมื่อมีคนในองค์กรประมาณ 15% ของพนักงานทั้งหมดมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนโครงการนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนากระบวนการหรือสร้างสินค้าหรือบริการใหม่ องค์กรจะสามารถสร้าง "Innovation Critical Mass" ที่สามารถเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรได้ทั่วทั้งระบบได้
การสร้างพื้นที่ โครงการ หรือ กระบวนการในองค์กร ให้คนในแผนกต่างๆสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์นวัตกรรมได้ เพื่อให้พนักงานมีส่วนร่วมในโครงการนวัตกรรมอยู่เสมอ เช่น
-
สร้างพื้นที่และเวทีให้พนักงานได้แบ่งปันไอเดียและผลงานนวัตกรรม เช่น การจัด hackathon, innovation program และ process improvement ต่างๆ
-
มีช่องทางให้พนักงานสามารถส่งไอเดียให้ผู้บริหารได้พิจารณา สนับสนุนให้ทำเป็น project เสริมได้
-
การจัดให้มี community ของกลุ่มคนที่ทำ project นวัตกรรมได้แลกเปลี่ยน
-
การจัดให้มี innovation mentor ให้คำปรึกษาซึ่งกันและกัน
-
มีการจัดอบรมและ workshop ด้านนวัตกรรมให้เป็นความรู้พื้นฐาน
-
และที่สำคัญ อย่าลืม สร้างระบบรางวัลและการยกย่องสำหรับผู้สร้างนวัตกรรม
สำคัญที่สุดคือความต่อเนื่องและคงที่ บางบริษัทเช่น 3M นำนโยบาย "15% Culture" ให้พนักงานใช้เวลา 15% ของเวลาทำงานสำหรับโครงการที่สนใจ ผลลัพธ์เป็นการเกิดนวัตกรรมมากมาย เช่น Post-it Notes ที่เป็นที่รู้จักในประเทศไทยด้วย บริษัทอื่นเช่น SCG ก็ส่งเสริมนโยบายที่คล้ายกัน เช่น โครงการ "Zero to One" ที่ช่วยเกิดผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ออกมามากมาย
เมื่อมี Innovation Critical Mass เพียงพอในองค์กร คุณจะเห็นว่าผู้คนเริ่มใช้ "ภาษาร่วมแห่งนวัตกรรม" กันอย่างเป็นทางการ นั่นหมายความว่าทีมงานทุกคนสามารถเข้าใจกันได้โดยไม่มีความสับสน การมีภาษาร่วมที่ชัดเจนเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างวัฒนธรรมของนวัตกรรมในองค์กร
เมื่อคนในทั้งองค์กรมีความรู้และเข้าใจแนวคิดของนวัตกรรมร่วมกัน การทำงานที่เกิดนวัตกรรมก็จะเริ่มเข้าสู่ระบบอย่างลื่นไหลมากขึ้น ไม่เพียงแค่ในโครงการนวัตกรรมเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการปรับปรุงและการทำงานที่ปกติขององค์กรให้ดียิ่งขึ้นด้วย
การสร้าง "Innovation Critical Mass" โดยให้ไม่น้อยกว่า 15% ของพนักงานมีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม ช่วยสร้างพลังที่เข้มแข็งและสามารถสร้าง "ภาษาร่วมแห่งนวัตกรรม" ภายในองค์กรได้ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างวัฒนธรรมของนวัตกรรมในองค์กร
—
เริ่มสร้าง Innovation Critical mass ในองค์กรตั้งแต่วันนี้
กับ Corporate Innovation Catalyst เวิร์คชอประยะสั้นด้านนวัตรกรรมจาก RISE ที่พร้อมช่วยคุณพัฒนาทักษะทางด้านนวัตกรรมให้กับพนักงานในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็น Hard Skill หรือ Soft Skills ผ่าน เวิร์คชอป ที่มีให้เลือกมากมายจาก จากหลักสูตร Innovation Catalyst ของเรา เรียนรู้เพิ่มเติมและเริ่มต้นการเดินทางสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรมได้ที่ https://catalyst.riseaccel.com/ หรือ ติดต่อ Learning Consultant จาก RISE ในการช่วยออกแบบการเรียนรู้ให้กับทีมงานของคุณ!
เขียนโดย
เกี่ยวกับผู้เขียน
คุณจิน รฐิยา อิสระชัยกุล ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรกิจของ RISE สถาบันเร่งสปีดนวัตกรรมองค์กรชั้นนำแห่ง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คุณจินเป็น venture builder มากประสบการณ์ มีความเชี่ยวชาญครอบคลุมด้านนวัตกรรมองค์กรและธุรกิจ ตั้งแต่ การบริหารจัดการด้านนวัตกรรม การบ่มเพาะ Startup เป็นที่ปรึกษา และ เป็น mentor ให้กับทีมนวัตกรรมองค์กรและสตาร์ทอัพระยะเริ่มต้น ไปจนถึง การสร้างทีมขาย วางโครงสร้างในการขยายธุรกิจ (Scale) และ คุณจินเคยดำรงตำแหน่งสำคัญใน Facebook และ Amazon ในยุคบุกเบิกตลาดประเทศไทย ทั้งสองที่สอนให้รู้จักและเข้าใจความสำคัญของ customer insights ในการสร้าง product และ services ที่ตอบโจทย์ตลาด คุณจินเชื่อในการเรียนรู้ด้วยการลงมือทำ ลองผิดลองถูก ล้มให้เป็น ลุกให้ได้ และลุกให้ไว และเชื่อว่าการทำอะไรยากๆ ให้สำเร็จ ต้องหา “Why” ให้เจอก่อน แล้วเดี๋ยว “Who” กับ “How” จะตามมาเอง
รฐิยา อิสระชัยกุล
ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรกิจของ RISE
คุณจิน รฐิยา อิสระชัยกุล ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรกิจของ RISE สถาบันเร่งสปีดนวัตกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็น venture builder เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมองค์กรและธุรกิจ ทั้งการบริหารจัดการนวัตกรรม การบ่มเพาะ Startup และการเป็นที่ปรึกษาและ mentor เคยดำรงตำแหน่งใน Facebook และ Amazon ในช่วงเริ่มต้นในประเทศไทย คุณจินเชื่อในการเรียนรู้ด้วยการลงมือทำ ล้มให้เป็น ลุกให้ได้ และการหา “Why” ก่อน แล้ว “Who” กับ “How” จะตามมาเอง